เป้าหมายการจัดการเรียนรู้
http://iad.dopa.go.th/km/km_des.html เป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง
นี่คือ หลุมพรางข้อที่1 ของการจัดการความรู้
เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย
ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม
หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้
การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ
การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี
ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว
ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้
แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้
คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว
เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้
แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม
และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด
แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ
ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด
ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php สิ่งสำคัญประการแรกในการจัดการความรู้
คือ การกำหนดเป้าหมายและจุดประสงค์ในการจัดการความรู้ที่ชัดเจน
และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือองค์ประกอบของการจัดการความรู้นั่นเอง
เป้าหมายในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ ดังนี้
๑. พัฒนาองค์กร คือ
สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ / ยุทธศาสตร์
เช่นผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
๒.
พัฒนากระบวนการทำงานทั้ง ให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น
ความผิดพลาดลดลง, ปรับปรุง
พัฒนากระบวนการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ให้เกิดประสิทธิผล เช่น
การพัฒนาผลผลิต, การลดต้นทุน และให้เกิดนวัตกรรม เช่น
พัฒนาการระดมความคิด, การนำแนวความคิดใหม่มาใช้จริง
๓. พัฒนาคน เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ มีความคล่องตัวในการทำงาน
และบุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน
http://ccs.sut.ac.th เป้าหมายของ KM มีอะไรบ้าง
เป้าหมายประการแรก คือ
เพื่อเป็นองค์กรเรียนรู้การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและการสร้างและใช้
ความรู้ในการปฏิบัติงานมีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
ส่วนในแง่ของบุคคลในหน่วยงาน
เช่นถ้าเป็นหน่วยงานรัฐก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้
ควรมีภาวะแนะนำและสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น
ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อร่วมงานหรือผู้ใช้บริการ
สรุป
สิ่งสำคัญประการแรกในการจัดการความรู้ คือ
การกำหนดเป้าหมายและจุดประสงค์ในการจัดการความรู้ที่ชัดเจน และสิ่งที่ขาดไม่ได้
คือองค์ประกอบของการจัดการความรู้นั่นเอง
เป้าหมายในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกได้ ๓ ระดับ ดังนี้
๑. พัฒนาองค์กร คือ
สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์ / ยุทธศาสตร์
เช่นผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
๒.
พัฒนากระบวนการทำงานทั้ง ให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น
ความผิดพลาดลดลง, ปรับปรุง
พัฒนากระบวนการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ให้เกิดประสิทธิผล เช่น
การพัฒนาผลผลิต, การลดต้นทุน และให้เกิดนวัตกรรม เช่น
พัฒนาการระดมความคิด, การนำแนวความคิดใหม่มาใช้จริง
๓. พัฒนาคน เพื่อให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ มีความคล่องตัวในการทำงาน
และบุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น