หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน



หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน (How to Use Standards in the Classroom)

การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญการเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติมาตรฐานการเรียนรู้และท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและครู Harris Douglas D and Curr, Judy F (1996: 18) ได้นำเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังแผนภาพประกอบที่ 11
ภาพประกอบที่ 11 หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน

ที่มา Haris, Douglas E and Car, Judy F (1996) หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน
จากแผนภาพประกอบที่ 11 สรุปได้ว่า
กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึงประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
หลักสูตรและการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียนสะท้อนถึงมาตรฐานที่กำหนดในกรอบหลักสูตรมลรัฐ
กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนเชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้มลรัฐหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาในขณะเดียวกันก็ต้องสนองตอบความสนใจและความต้องการของนักเรียนและชุมชนด้วยเหตุผลดังกล่าวกิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียนจึงควรสร้างจากแหล่งข้อมูลของท้องถิ่นหรือเหตุการณ์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียนห้องถิ่นและมลรัฐควรใช้ข้อมูลจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะบอกได้อย่างดีว่าผลการเรียนของนักเรียนถึงมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานสู่ความสำเร็จ: หลักสูตรการประเมินผลและแผนปฏิบัติการ
เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ใช้มาตรฐานใดแล้วทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ามาตรฐานของโรงเรียนคืออะไรและจะนำไปใช้อย่างไรคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนการประเมินที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญคือการประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐานการได้ข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลและนักเรียนจะบรรลุมาตรฐานตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์นั้นจะต้องเตรียมวิธีปฏิบัติกระบวนการและหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ให้พร้อมการตัดสินใจว่าจะสอนและประเมินมาตรฐานใดจะสอนมาตรฐานดังกล่าวในระดับชั้นใดรายวิชาใดสิ่งเหล่านี้คณะกรรมการวิชาการจะต้องกำหนดขอบข่ายโดยใช้ฐานข้อมูลว่าใครจะสอนและประเมินมาตรฐานใดและจำเป็นต้องมีการทบทวนแผนว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้หมาะสมหรือไม่จุดเน้นของหลักสูตรสถานศึกษาเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้คำถามเดิมที่ว่าใครสอนหัวข้อใดหรือครูจะใช้สื่อการสอนอะไรจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นใครสอนมาตรฐานอะไรการเรียนการสอนใช้รูปแบบใดและใครประเมินมาตรฐานไตโดยวิธีใด เป็นต้น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน Carr, Judy F and Harris, Douglas E (2001: 45 49) เสนอคำถามที่เกี่ยวข้องคือจะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไรซึ่งการประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบการวัดหรือการให้คะแนนแต่การประเมินเป็นบูรณาการของการสอนเป็นกระบวนการของการวัดปริมาณการอธิบายการรวบรวมข้อมูลหรือการให้ผลป้อนกับเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการประเมินชั้นเรียนโดยใช้มาตรฐานเป็นฐานคือบอกให้รู้เกี่ยวกับการสอนและการปรับปรุงการเรียนรู้ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินยังสะท้อนสิ่งต่างๆ ดังนี้
ให้แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการศึกษา
ชี้ให้เห็นความสำเร็จของนักเรียนแต่ละคนหลักสูตรเฉพาะและการปฏิบัติในสถานศึกษา
ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้และทักษะแบบบูรณาการตลอดหลักสูตรหรือไม่
เสนอวิธีการและข้อมูลเพื่อสื่อถึงผลการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินประสิทธิผลของชั้นเรียนต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในขณะนั้นรวมทั้งมีลักษณะรวบยอด (แต่ละองค์ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมดคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนกลุ่มต่างๆและคำนึงถึงจุดดีและปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน) ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากหลักสูตรเดียวกันหรือข้ามหลักสูตร
มีลักษณะหลากหลาย (หลากหลายแงมุมและยืดหยุ่นได้ เหมาะสมทั้งด้านพัฒนาการและล้านวัฒนธรรมคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้และพหุปัญญาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน
เชื่อถือได้เชิงเทคนิค (มีความต่อเนื่องและกระทำติดต่อกันแม่นตรงและเชื่อถือได้และรายงานอย่างถูกต้อง)
การวางแผนการประเมินต้องมองในมุมกว้างแผนการประเมินคือเครื่องมือออกแบบหรือชุดของต้นเดือนที่คำนึงถึงว่าการเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการประเมินให้สัมพันธ์กับมาตรฐานได้อย่างไรการใช้แผนการประเมินนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า
ผลป้อนกลับจากการน่าแผนการประเมินไปใช้จะชี้แนะกระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการเรียนการสอน
นักเรียนมีโอกาสหลากหลายที่จะแสดงผลสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
นักเรียนให้คำตอบที่สรรค์สร้างเองได้หลายแบบเช่นผลงาน (รายงานที่เขียนภาพหุ่นจำลองแผนที่และการปฏิบัติกิจกรรมการสืบค้นการสัมภาษณ์การแสดงละคร) การตอบสนองของนักเรียนหลายแบบบอกให้รู้พหุปัญญาเเละจุดแข็งต่าง ๆ ของนักเรียนแต่ละคนการประเมินด้วยคำตอบแบบเลือกตอบและการตอบแบบสั้นมักเป็นส่วนหนึ่งของแผนการประเมินนี้
แนวการให้คะแนนแบบต่าง ๆ ใช้เพื่อกำหนดผลป้อนกลับด้านการเรียนรู้ของนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น