ดิจิทัลและการศึกษา


การปฏิรูปการศึกษายุค 4.0 เพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศ เป็น 1 ในนโยบายสำคัญของหน่วยงานด้านการศึกษา ที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างศักยภาพให้บุคลากร ของประเทศมีประสิทธิภาพ   ดิจิทัล ลิเทอเลซี่  การรู้ทันโลกเทคโนโลนี เป็นหัวข้อ ที่เราเลือกมาพูดคุย เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนา ที่เริ่มตั้งแต่การศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน  
การปฏิรูปการศึกษายุค 4.0 เพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศ เป็น 1 ในนโยบายสำคัญของหน่วยงานด้านการศึกษา ที่มีเป้าหมายเพื่อ สร้างศักยภาพให้บุคลากร ของประเทศมีประสิทธิภาพ   ดิจิทัล ลิเทอเลซี่  การรู้ทันโลกเทคโนโลนี เป็นหัวข้อ ที่เราเลือกมาพูดคุย เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนา ที่เริ่มตั้งแต่การศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน  
ในยุคที่ทุกสิ่งเข้าสู่โลกของดิจิทัล (Digital) ทั้งเรื่องของแนวโน้มการตลาด สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนหรือธุรกิจ ไปจนถึงภาครัฐฯ สำหรับส่วนของการศึกษาเองก็มีการตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีและสารสนเทศที่มากมายมาประยุกต์ใช้กับผู้เรียน  คือ นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาด้วย   
นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายๆ สถาบันในประเทศไทย ทั้งศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทุกศาสตร์ต่างยอมรับว่า เทคโนโลยีด้าน ICT มีผลต่อการเรียนการสอนของอาจารย์ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียนในปัจจุบัน   เพื่อให้สอดรับกับ การเรียนในศตวรรษที่ 21   
และที่เห็นได้ชัดคือนักเรียน นักศึกษา มีแนวโน้มที่เปลี่ยนไป เช่นกันกับผู้บริโภคในภาคการค้าและธุรกิจ เพียงแค่เปลี่ยนจากการซื้อ-ขาย หรือการทำโฆษณาออนไลน์  เป็นแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในการศึกษา หรือการเรียนรู้แทน  
บทเรียนสำหรับผู้เรียนบนสื่อดิจิตอล เหมือนเครื่องมือการตลาดตัวหนึ่งที่ต้องทำ Content Marketing เรียกความสนใจให้เกิด Attraction และ Convert เพียงแค่เปลี่ยนจาก Visitor (ผู้เยี่ยมชม) เป็น Customer (ลูกค้า) เป็นการ Convert เปลี่ยน Visitor (ผู้เยี่ยมชมซึ่งอาจจะเป็นผู้เรียนธรรมดา หรือคนทั่วไป) ให้กลายเป็น Learners (ผู้เรียนที่แท้จริง) ที่สนใจในบทเรียนของเราอย่างแท้จริง ดังนั้นเครื่องมือในการทำการตลาด หรือการศึกษานั้นก็คือเครื่องมือที่คล้ายกัน คือ Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งบนเว็บไซต์ และสมาร์ทโฟน เช่น Blog, Facebook, Google Hangout และชั่วโมงเรียน E-Classroom รูปแบบดิจิทัลสมบูรณ์อย่าง Google Classroom (ใช้ได้เฉพาะสถานศึกษา)
หนึ่งในสถาบันการศึกษา ที่พยายามปรับรูปแบบการเรียนการสอน นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ คือ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเปิดหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล ในรูปแบบสองปริญญากับมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เพื่อรองรับนโยบาย 'ไทยแลนด์ 4.0' เน้นการใช้เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเพิ่มทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ

ด้าน ผู้ประกอบการบูติคโฮเทล ที่ร่วมในงานเปิดตัวหลักสูตรของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร มองว่า โลกในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถมองข้าม 'เทคโนโลยีดิจิตอล' ได้อีกแล้ว เพราะแทบกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย   ดังนั้น การรู้เท่าทัน และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษา
  
ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ (24พ.ค.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. จะแถลงวิสัยทัศน์ "กลยุทธพลิกโฉมการศึกษา ปั้นประชากรไทย 4.0" โดย ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) หวังสนับสนุนการพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (อีอีซี) เนื่องจาก สจล. มีโรงเรียนสาธิตนานชาติพระจอมเกล้า วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ และโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอวกาศและระบบโลก ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายให้สำเร็จได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น