บทที่ 3 
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)

           T : วิเคราะห์งาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ(Skill) และ เจตคติ(Attiude) ที่เกี่ยวข้องเพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือKnowledge-Skill-Attitudes การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
      1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการเรียนการสอน มีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
      2.  ต้องมีความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน จึงจะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
      3.การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จากขั้นที่ 2 บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใด
        Donald Clark ,(2004 : 13) เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนนี้ว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน ดังนี้
ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
เรียบเรียงภาระงาน (ถ้าจำเป็น)
·       ระบุ งาน
·       บรรยายลักษณะงาน
·       รายงาน ภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสำหรับการเรียนการสอน (ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การสอน)
          สร้างเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติ
          เลือกวิธีการเรียนการสอน
          ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน (ถ้าจำเป็น)
          หมายเหตุ คำว่า (ถ้าจำเป็น) อาจไม่ต้องทำก็ได้ เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น ๆ ทราบแล้ว

การวิเคราะห์งาน
          การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้น ๆ มีงานใดที่เป็นชีวิตจริง และมีความรู้ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานนั้น ๆ การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
          คำถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน ในการวิเคราะห์งาน มรคำถามหลัก 3 ข้อ คือ
          ภาระงานใดเป็นข้อกำหนดของงาน
          การจัดเรียงลำดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
          เวลาที่ใช้ในการทำแต่ละภาระงาน
        สุดท้ายหาคำตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสำคัญ เนื่องจากงานประกอบด้วนภาระงานหลายภาระงาน
          การวิเคราะห์งานทำอย่างไร
          วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
          การสอบถาม (questionnaires) การสำรวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจำนวนมาก
          การสัมภาษณ์ (interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มี่ค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก แต่มีข้อดีสำหรับคำถามปลายเปิด หรือสามารถถามเพิ่มเติมในประเด็นที่ต้องการทันที
          การสนทนากลุ่ม (focus groups) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซี่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า มิฉะนั้นอาจจะเข้าใขผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น