การเรียนรู้อิงมาตรฐาน



การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ

>>>> หัวใจของการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ
กรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหรือกล่าวโดยความเข้าใจทั่วไปคือ กรอบทิศทางในการจัดหลักสูตรของโรงเรียน ซึ่งหมายถึง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรที่ใช้แนวคิดหลักสูตรอิงมาตรฐาน เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดังนั้นการดำเนินการทุกขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้จะต้องยึดหลักการบริหารจัดการที่อิงมาตรฐาน การวัดและประเมินผลต้องสะท้อนมาตรฐาน การจัดการเรียนรู้โดยมาตรฐานเป็นเป้าหมาย
การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาและมีคุณภาพตามตัวชีวัดทั้งหมด ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนย่อมเกิดสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรที่กำหนด 5 ประการ คือ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความสามารถหรือสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ประการ ได้ถูกกำหนดเป็นลักษณะของสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฎิบัติได้ในแต่ละตัวชี้วัดในกลุ่มสาระต่าง ๆ ของหลักสูตรแกนกลางฯ แล้ว
การออกแบบโครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
การออกแบบโครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ ตามแบบฟอร์ม ควรวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดทุกตัวในรายวิชาให้ชัดเจน ดังนี้
1. คำสำคัญในตัวชี้วัด ตัวชี้วัดจะระบุสิ่งที่นักเรียนควรรู้ และควรปฏิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่จะบ่งบอกเกี่ยวกับด้านความรู้ และทักษะ/กระบวนการ สำหรับคุณลักษณะ/เจตคติบางตัวไม่ได้ระบุไว้ จึงควรพิจารณาว่า มีตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อใดหรือไม่ที่สอดคล้องกับการนำมาพัฒนา หากไม่มีข้อใดที่เหมาะสมไม่จำเป็นต้องใส่
2. หลักฐานการเรียนรู้ จากคำสำคัญมาพิจารณาว่าร่องรอยหลักฐานอะไรที่จะบอกได้ว่ามีคุณภาพตามที่ตัวชี้วัดกำหนด ซึ่งอาจจะเป็นชื้นงานหรือภาระงาน เช่น คำสำคัญ คือ การออกเสียงหลักฐานการเรียนรู้อาจจะเป็นภาระงานให้อ่านออกเสียงจากเรียงที่สนใจ
3. แนวทางการประเมินหรือกิจกรรมการประเมิน  กำหนดให้ชัดลงไปว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไร เพื่อผู้เรียนได้ทำภาระงานหรือชิ้นงานนั้น เช่น ภาระงานให้อ่านออกเสียงจากเรื่องที่นักเรียนสนใจ แนวทางการประเมินอาจเป็นนักเรียนออกมาอ่านออกเสียงหน้าชั้นเรียน หรือจับกลุ่มสลับกัยอ่านออกเสียง
4. วิธีการประเมิน ซึ่งรวมทั้งวิธีการและเครื่องมือ จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักฐานการเรียนรู้และแนวทางการประเมินหรือกิจกรรมการประเมิน จากตัวอย่างข้างต้นวิธีการประเมินควรเป็นการสังเกตการออกเสียงและเครื่องมือประเมินควรเป็นแบบสังเกต
ในหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐานจะประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 ประเภท ได้แก่
1. กิจกรรมนำเข้าสู้การเรียน (Introductory activities)
เป็นกิจกรรมเริ่มต้นช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะดำเนินขั้นต่อไปในหน่วยการเรียนรู้นั้น
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (Enabling activities)
เป็นกิจกรรมช่ววยเสริมสร้างให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้านความรู้และทักษะ เป็นกิจกรรมในขั้นตอนสุดท้ายที่ให้ผู้เรียนทำชิ้นงานหรือภาระงาน
ครูมีบทบามสำคัญ
ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ส่งผลให้จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ครูผู้สอนควรได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยยึดหลักการสำคัญ ดังนี้
1. ครูต้องศึกษา ทำความเข้าใจเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. ครูต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ โดยเน้นความสำเร็จตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตังชี้วัดของหลักสูตร
3. ครูควรมีข้อมูลมาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
4. ครูต้องจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
5. ครูต้องจัดเตรียมและใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. ครูต้องจัดให้มีการวัดประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยเน้นการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงเป็นสำคัญ
7. ครูต้องนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาผู้เรียน
8. ครูต้องใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนา
อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนจะบรรลุผลได้ดี เพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น ความรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู การแสวงหาความรู้ การใช้หลักจิตวิทยา การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เป็นไปด้วยกัลนามิตร ทั้งหมดคือความมีจิตวิญญาณของความเป็นครู


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น