การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม

แอนเดอร์สัน และเคราโฮล (2001) ได้ปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม (Blooms,Taxonomy revise) ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบ Blooms,Taxonomy 1956 และ 2001
New Version (Blooms,Taxonomy2001)
Old Version (Blooms,Taxonomy1956)
สร้างสรรค์-Creating
การประเมิน-Evaluation
ประเมิน-Evaluating
การสังเคราะห์ Synthesis
วิเคราะห์-Analysing
การวิเคราะห์-Analysis
ประยุกต์-Applying
การนําไปใช้-Application
ความเข้าใจ-Understanding
ความเข้าใจ-Comprehension
ความจำ-Remembering
ความรู้-Knowledge


Bloom (1956) ใช้คำนามในการอธิบายความรู้ประเภทต่าง ๆ ในฉบับปรับปรุงปี 2001 ใช้คำกริยาและปรับเปลี่ยนคำว่าความรู้(knowledge) เป็นความจำ (remember) เมื่อนำเขียนจุดมุ่งหมายการศึกษาของหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน (standards-based curriculum) จะเขียนได้ว่า ผู้เรียนควรรู้และทำอะไรได้ (เป็นกริยา) และได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง (factual) มโนทัศน(concept) กระบวนการ (procedural) และอภิปัญญา (meta cognition) และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น คือ ขั้นความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็นเข้าใจความหมาย (understand) และขั้นการประเมิน (evaluation) เป็นสร้างสรรค์ (create)
การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Revised's Bloom Taxonomy) ทีกล่าวถึงมิติทางการเรียนรู้ของ Bloom และคณะ (1956) ซึ่งแอนเดอร์สันและเเครธโธล (Anderson & Krathwohl, 2001) ได้กล่าวถึงรายละเอียดของพฤติกรรมผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Leaming Outcome) โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา ได้แก่ การจำ (remembering)เรียกความรู้จากหน่วยความจำระยะยาว ความเข้าใจ (Understanding)ศึกษาความหมายจากข้อมูลที่เรียนรู้ รวมถึงการพูด การเขียนและการสื่อสารด้วยรูปร่าง ประยุกต์ใช้(Applying) ประยุกต์ขั้นตอน/กระบวนการในงานที่คุ้นเคย วิเคราะห์(Analyzing) จำแนกองค์ประกอบและหาความสัมพันธ์เพื่อกำหนดโครงสร้างหรือเป้าหมายใหม่ ประเมิน (Evaluating) ตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์เเละมาตรฐาน และสร้างสรรค์ (Creating) จัดองค์ประกอบหรือหน้าที่ให้เชื่อมโยงกันไปสู่รูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
มิติด้านความรู้ จำแนกระดับความรู้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง(Factual knowledge) พื้นฐานของผู้เรียนต้องรู้จักหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหา 2) ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์(Conceptual knowledge) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในโครงสร้างทั้งหมดที่จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ 3) ความรู้ในการดำเนินการ(Procedural knowledge) วิธีการสืบค้นและเกณฑ์ในการใช้ทักษะ เทคนิควิธีการเพื่อดำเนินการ และ4) ความรู้อภิปัญญา(Metacognitive knowledge) ความรู้จากการรับรู้และความเข้าใจในตนเอง การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษานี้ได้กล่าวถึงอภิปัญญาโดยทั่วไป รู้ถึงความรู้ในตนเอง ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษานี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับอภิปัญญา(Metacognitive knowledge) ตระหนักรู้ในตนเอง(meta awareness) การไตร่ตรองย้อนคิดในตนเอง(Self-reflect) และการกำกับดูแลตนเอง
เขียนตารางแสดงความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา(Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้(knowledge Dimension)

ตารางที่ 5 ความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา กับ มิติด้านความรู้
Cognitive Process
TheKnowledge Dimension
1
Remember
2
Understand
3
Apply
4
Analyze
5
Evaluate
6
Create
Factual
Conceptual
Procedural
Metacognitive


Anderson & Krathwohl (2001) นำเสนอรูปแบบของอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ความรู้ทางปัญญา(Knowledge of Cognition) และกระบวนการในการดูแลควบคุมกำกับติดตามตนเอง โดยแบ่งเป็นอภิปัญญาในความรู้ (Meta cognitive knowledge) และอภิปัญญาในการควบคุมตนเอง (Meta Cognitive Control) และความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. ความรู้ในกลยุทธวิธีการเรียนรู้(Strategic knowledge) คือความรู้ในกลยุทธ์วิธีการเรียนรู้การคิดการแก้ไขปัญหาในทุกกลุ่มวิชา 2.ความรู้ในการเลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการเรียนรู้ (Knowledge about Cognitive tasks) คือการเลือกกลยุทธ์วิธีที่เหมาะสมกับภาระงานชิ้นงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพที่แตกต่างกัน และ 3.การรู้ในตนเอง (Self-Knowledge) คือ การรู้ถึงความรู้ความสามารถของตน การประเมินตนเองทั้งจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาตนเอง และควรพัฒนาตนอย่างไรเพื่อให้บรรลุภาระงานชิ้นหรือมีความรู้ที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหานั้นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น