การวัดและการประเมินผล


การวัดและการประเมินผล
            การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอนด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่าได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการวัดและการประเมินผลได้เป็นอย่างดี
            การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนลักษณะของสิ่งที่วัดโดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
            ส่วนคำว่า“ การประเมินผล” นั้นเป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของโครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
            จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
            การวัดและการประเมินผลการศึกษาหรือการเรียนการสอนหรือที่ในปัจจุบันใช้คำว่าการจัดการเรียนรู้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
            1.การจัดตำแหน่ง (Placement) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัดผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่งปานกลางหรือสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณีตัวอย่างเช่นเมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษาผู้เรียนแต่ละคนจะมหรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความน้อยเท่าใดซึ่งสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณีความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญาความสนใจคัดเลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่อย่างไรดังนั้นผู้สอนหรือสถานศึกษาก็จะความสนใจความถนัดรวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่าง ๆที่จะต้องมีการะเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชา1701จากจะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดเรีลแบ่งประเภทได้อย่างยุติธรรม
            2.การวินิจฉัย จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไรหรือมีสาเหตุอะไรถึงไม่สบาย นี้มักจะใช้ในทางการแพทย์โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนไข้แล้วมไม่เป็นโรคอะไรหรือมีสาเหตุอะไรที่ทำให้ไม่สบายซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานของเพื่อนำไปสู่การรักษาสำหรับในทางการศึกษานั้นการวัดและการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วในแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนเข้าใจจะถูกต้องหรือไม่เข้าใจเข้าใจยังไม่ถูกต้องผู้สอนจะได้สอนหรือแนะนำทำความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
            3. การเปรียบเทียบ (Assessment) จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อการเปรียบเทียบความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการที่ผู้สอนอาจจะสอบวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้วหลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่งหรือเมื่อเรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดและประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบจากผลการสอบก่อนเรียนกับผลการสอบหลังจากที่เรียนไปแล้ว
            4. การพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดหรือประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทำนายหรือคาดการณ์และแนะนำว่าผู้เรียนคนนั้น ๆควรจะเรียนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จและสอดคล้องกันความสามารถความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคคลในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกคนมีความแตกต่างเห็นในลาย ๆ ด้านดังนั้นหากสามารถจัดการศึกษาหรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องความถนัดความสนใจหรือความรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนได้ก็จะทำให้การศึกษาหรือการเรียนในเรื่องนั้นๆได้รวดเร็วและประสบความสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
            5. การป้อนผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนำผลประเมินที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อ ๆไปผลย้อนกลับนี้มีได้ทั้งส่วนที่เป็นของผู้สอนและสวนเป็นของผู้เรียนในส่วนของผู้สอนเมือการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนสอนแล้วผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิควิธีการสอนสื่อการเรียนการสอนเนื้อหาจัดให้กับผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่อย่างไรมีส่วนใดบ้างที่จำเป็นผู้เรียนจะได้รับรายงานผลของตนเองทำให้ทราบว่าตนเองนั้นมีความร้อนปรับปรุงแก้ไขส่วนใดบ้างที่ดีอยู่แล้วสำหรับในส่วนของผู้เรียนนั้นเมื่อมีการวัดและการประเมินผลครูระดับใดและมีเรื่องใดบ้างที่เรียนแล้วแม้ในขัพพนเนื่องใดบ้างที่ยังต้องการเพเพิ่มเติมอีกซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ผู้เรียนในการศึกษา
            6. การเรียนรู้(Learning Experience)  เป็นการวัดและประเมินผลที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระทุนในมีที่มีการสอบเพื่อวัดและประเมินพอนคนสมบผู้เรียนจะต้องมีเตรียมตัวเนยไฟไฟปพบเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทำให้แตกระบวนกาเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนอีกด้วยเนื่องที่การเคายมตัวสอบจะต้องมีการทบทวน
เนื้อหาวิชาที่เรียนศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้จึงทําให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และถูกต้องชัดเจนผมเข้าทำข้อสอบ โดยที่ข้อสอบที่ใช้นั้นจะเป็นสภาพการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนตอบแบบที่ความคิดในหลายๆแง่มุม เช่น คิดแก้ปัญหา คิดคำนวณ คิคหาสรุป เป็นต้น ซึ่งการคิดเหล่านี้เป็นจบการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้วบลูม (Bloom, 1971, p. 56) ได้เสนอประสงค์ที่จะทำการวัดและการประเมินผลโดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดได้เกี่ยวกับจุดประสงค์ที่จะทำการวัดผลไว้ดังนี้
1.       วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2.       วัดทางความรู้สึกนึกคิดหรือจิตพิสัย (Affective Domain)
3.       วัดความสามารถในการใช้อวัยวะต่างๆหรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผล
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลายชนิดแต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
1. การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกตสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในสภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่วๆไปเป็นการเฝ้าดูพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ถูกสังเกตซึ่งอาจจะเฝ้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กำหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตอะไรอย่างไรสังเกตอะไรก่อน-หลังเมื่อมีพฤติกรรมอะไรเกิดขึ้นก็สังเกตและจดบันทึกไว้ทั้งหมดหรืออาจจะเฝ้าดูอย่างมีแผนการกำหนดไว้แน่นอนว่าจะสังเกตอะไรบ้างและสังเกตอย่างไรตัวอย่างเช่นต้องการจะวัดว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งมีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้างอาจกำหนดแผนงานในการสังเกตเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อคอยสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เรียนคนนั้นว่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอะไรออกมาบ้างและมีการแสดงออกอย่างไรพร้อมทั้งจดบันทึกผลไว้แล้วนำมาประเมินผลในภายหลังเป็นต้นการสังเกตทั้งสองวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อบกพร่องแตกต่างกันคือการสังเกตอย่างไม่มีแผนล่วงหน้าอาจจะเสียเวลาน้อยแต่จะได้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างมากโดยที่บางพฤติกรรมอาจไม่ตรงกับที่ต้องการจะสังเกตก็ได้ส่วนการสังเกตอย่างมีแผนการจะเสียเวลาเฝ้าคอยพฤติกรรมนั้นๆนานแต่จะได้เฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการสังเกตจริง ๆ เท่านั้น
2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบซึ่งกัน 4 การสัมภาษณ์อาจทำได้สองแบบเช่นเดียวกันคือแบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแผนโดยเฉพาะแบบคนนั้นจะกระทำเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนมีแนวการสัมภาษณ์และกำหนดเป็นถามไว้ล่วงหน้าใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายโดยจะใช้การถามเพื่อล้วงหาคำตอบแบบหยั่งลึกก็ได้การสัมภาษณ์วิธีนี้มีการบันทึกผลการสัมภาษณ์และการตั้งเกณฑ์สำหรับคนที่จะผ่านการสัมภาษณ์ด้วยการวัดและการประเมินประเมินผลโดยใช้การสัมภาษณ์นี้มีข้อดีตรงที่ผู้สัมภาษณ์จะได้ผลจากการสัมภาษณ์ที่เป็นข้อของผู้ตอบได้ทราบความรู้สึกนึกคิดและหฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อย่างใกล้ชิดแต่อาจต้องใน
3. การให้ปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทำได้ตามที่เรียนรู้หรือการสอนเขียนแบบเมื่อผู้สอนสอนหลักการไปแล้วก็ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเขียนแบบตามหลักให้ดเป็นต้นการวัดโดยให้ปฏิบัติและประเมินผลจากผลการปฏิบัตินั้นๆถือเป็นวิธีการวัดและประเมินอีกวิธีหนึ่งในบางสาขาวิชาโดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการสอนทักษะต่างๆ
4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหาหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดละเอียดลึกซึ่งเป็นรายๆไปเช่นการค้นหาสาเหตุของผู้เรียนที่มาโรงเรียนสายเป็นประจำหรือผู้เรียนที่ไปตั้งใจเรียนและชอบหนีโรงเรียนเป็นต้นในการศึกษาจะใช้เทคนิคและเครื่องมือหลายชนิดมารวบรวมข้อมูลในเรื่องต่างๆที่ศึกษาและบันทึกผลไว้แล้วนำมาวิเคราะห์สรุปหาสาเหตุของปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการศึกษาอย่างแท้จริง
5. การให้จิตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัดออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกเรือปฏิกิริยาของคนอื่น การวัดและการประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้วัดทางด้านบุคลิกภาพ เช่น เจตคติ ความสนใจ อารมณ์ ค่านิยมนิสัยและอุปนิสัย เป็นต้น การให้จินตนาการมีหลายแบบเช่นแบบเติมประโยคให้สมบูรณ์แบบให้แสดงออกหรืออธิบายภาพที่เลือนลางแบบเรียงลำดับเป็นต้นการให้จินตนาการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการพูดหรือลำบากใจในการโต้ตอบซักถามได้เป็นอย่างดี เพราะจะทำให้ได้การวัดและการประเมินผลที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความแค่ตอบเลือกตอบจากคำตอบจริงมากที่สุด
6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบพร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเองคำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่ "ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งคำถามในแบบสอบถามนี้อาจแบ่งได้เป็นกำหนดให้ลักษณะคือแบบคำถามเปิดผู้ตอบต้องหาคำตอบมาใส่เองและแบบคำถามปิดผู้ตอบ
การประเมินผลตามระบบการวัดผล
ในกระบวนการเรียนการสอนนั้นจะต้องมีการวัดและการประเมินผลเพื่อเป็นตัวในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอนดังนั้นเมื่อมีการวัดผลด้วยเครื่องมือเทคนิคจะต้องนำผลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินผลด้วยระบบการวัดผลมาตรฐานซึ่งได้แก่
1.       การประเมินผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันโดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวหรือฉบับ
เดียวกันจุดมุ่งหมายหลักของการประเมินผลแบบนี้เพื่อต้องการจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้นๆตามความสามารถตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุดโดยยึดระดับผลสัมฤทธิ์เช่นการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาจะมีการแปลคะแนนของผู้สอบออกมาในรูปของคะแนนมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจจะดูคะแนนในรูปของเปอร์เซนไทน์ หรือ เดไซค์ก็ได้แบบทดสอบสำหรับการประเมินผลประเภทนี้ควรมีความยากง่ายพอเหมาะคือไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปค่าที่พอเหมาะคือค่าความยากง่ายที่  50%  ค่าอำนาจจำแนกสูงดังนั้นการได้คะแนนสูงหรือต่ำของผู้เรียนจะถือว่าเป็นเพราะความแตกต่างของตัวผู้เรียนเองและความเป็นมาตรฐานของข้อสอบที่สามารถแยกให้เห็นถึงความแตกต่างของคะแนนได้การประเมินผลแบบอิงกลุ่มนี้จะบอกได้แต่เพียงว่าผู้เรียนคนหนึ่งสามารถทำได้ถูกต้องกว่าคนอื่นๆอยู่กี่คนเท่านั้นโดยไม่สามารถบอกได้ว่าผู้เรียนทำแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อหรือถูกต้อง 70% หรือ 30%
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อดูว่างานหรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใดโดยไม่คำนึงถึงอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันตัวอย่างเช่นการสอบวิชาหลักการสอนให้ผ่านจะต้องได้เกรดไม่ต่ำกว่า 2 หรือ C. คนที่สอบได้เท่ากับหรือมากกว่า 2 หรือ C. ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
 การประเมินผลตามสภาพจริง
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันมีจุดเด่นประการหนึ่งที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Centered) คือการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) หรือเน้นการวัดผลให้ตรงกับสภาพจริงของการเรียนการสอนแล้วนำผลการวัดเหล่านั้นมาประเมินว่าบรรลุผลการเรียนรู้มากน้อยเพียงไรการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นจะเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (Learning by doing) มิใช่เกิดจากการเรียนการสอนแบบเก่าคือผู้เรียนฟังครูผู้สอนแต่เพียงอย่างเดียวซึ่งการเรียนในลักษณะนี้จะวัดผลเพียงแค่ผู้เรียนฟังแล้วรู้เรื่องที่ครูสอนมากน้อยเท่าไรใครจำเรื่องราวที่ครูบรรยายได้มากก็ประเมินว่าเรียนเก่งใครจำเรื่องราวได้น้อยจากครูก็เป็นผู้เรียนอ่อนหรือสมควรตกแล้วเรียนใหม่เป็นต้น
ในปัจจุบันการวัดผลมิใช่เพียงแค่การทดสอบหรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินจากสภาพแท้จริงของผู้เรียนดังนั้นการประเมินผลตามสภาพจริงจึงหมายถึงกระบวนการสังเกตการบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากผลงานและวิธีการที่ผู้เรียนกระทำเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่อผู้เรียนเหล่านั้นการประเมินผลตามสภาพจริงจะไม่เน้นเฉพาะการประเมินทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงานของผู้เรียนประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงนอกจากนั้นยังเน้นการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบข้อความรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองพัฒนาการสอนของครูอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ลักษณะของการประเมินผลตามสภาพจริง
ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริงมีอยู่ด้วยกัน 4 ประการดังนี้คือ
1. ประเมินในสิ่งที่เป็นภาคปฏิบัติจริง หรือกระทำจริงได้เช่นผู้เรียนต้องทำการทดวิทยาศาสตร์ได้จริงๆไม่ใช่ทดลองหรือแก้ปัญหาโดยการเขียนบรรยายหรือจำถึงหลักของวิทยาศาสตร์ไม่เคยทดลองเลยหรือเด็กที่จะเป็นผู้ได้เกรด A วิชาสุขศึกษาจะต้องเป็นผู้รู้จักรักษาอนามัยตนเองได้ดีร่างกายแข็งแรงไม่ใช่เด็กที่ตอบคะแนนจากวิชานี้ได้สูงแต่ไม่รู้จักดูแลสุขภาพขี้โรคและแต่งตัวสกปรกเป็นต้น
2. กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินไว้ให้ชัดเจน โดยยึดหลักของการแสดงออกหรือปฏิบัติเป็นสำคัญเพื่อการเข้าใจกันระหว่างผู้เรียนและครู
3. การประเมินตามสภาพจริงจะต้องทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่ เด็กสามารถจะปรับปรุงหรือขยายผลงานของตนให้เข้าใกล้กับสิ่งที่เป็นเกณฑ์กำหนดไว้ตามความสามารถของตนเอง
4. การประเมินตามสภาพจริงจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในการแสดงออกอย่างเต็มที่ ในสิ่งที่เขาสนใจและต้องการจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งในสภาพแวดล้อมชุมชนที่เขาอยู่อาศัยการเรียนในลักษณะนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนดีกว่าการบังคับเรียนโดยครูหรือหลักสูตรที่คับแคบไม่ตอบสนองและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่อย่างไร
จากลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง 4 ประการนี้จะเห็นว่าแนวการประเมินตามสภาพจริงมุ่งที่จะวัดการแสดงออกใดๆของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดและในกิจกรรมทุกกิจกรรมทุกอย่างหน้าที่ของครูจะเป็นไปในลักษณะติดตามผลพร้อมกับช่วยเหลือเสนอแนะเปรียบเสมือนจะเป็นผู้ฝึก (Coach) แล้วผู้เรียนเป็นผู้แสดงหรือผู้เล่นถ้าสร้างความเข้าใจในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกพัฒนาตนเองเต็มที่และเรียนอย่างมีความสุขที่ตนสนใจและต้องการแนวการเรียนการสอนในลักษณะเด็กเป็นผู้แสดงนครจะต้องมีการติดตามและมีการวัดทุกพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นเพื่อจะได้นำเอาผลการวัดเหล่าน "ประเมินผู้เรียนได้ถูกต้องแม่นยำและเป็นไปตามสภาพจริงๆที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนการสอน
แนวทางในการวัดการประเมินตามสภาพจริง
เพื่อให้เห็นแนวทางของการวัดการประเมินตามสภาพจริงจึงกล่าวสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
1. การวัดผลจะต้องใช้หลายๆวิธีในการวัด เพื่อจะได้ประเมินผู้เรียนได้ครอบคลุมเป็นโดยใช้ข้อสอบเป็นต้นแบบสังเกตการสัมภาษณ์แบบสอบถามการใช้สังคมมิติการวัคจินตภาพการวัดภาคปฏิบัติ" คปฏิบัติและการวัด
2. จะต้องมีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมผลงานต่างๆบนหนึ่งๆอันเป็นผลมาจากการเรียนการสอนมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการประเมินปลายภาครวมผลงานต่างๆของผู้เรียนคน4ะเมินปลายภาคหรือปลายปี
3. การวัดผลต่างๆที่เกิดขึ้นในระดับชั้นต่างๆในตัวผู้เรียนแต่ละคนจะต้องตอบให้ได้ว่าบางๆเป้าหมายมากน้อยเพียงไร
3. 1 เป้าหมายระดับชาติ (เป้าหมายสูงสุดหรือปรัชญา)
3. 2 เป้าหมายระดับท้องถิ่น (เป้าหมายหลักสูตร)
3. 3 เป้าหมายของตนเอง (ผู้เรียน) (เป้าหมายตอบสนองบุคคล)
4. แนวทางในการวัดเน้นการวัดที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือการวัดมุ่งจะปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน (Formative Evaluation) ส่วนการวัดที่เน้นโดยภาพรวมหรือสรุป (Suminative Evaluation) จะทำในระดับท้องถิ่นและระดับชาติแต่ในส่วนครูผู้สอนจะต้องเน้นการวัดผลควบคู่ไปกับการเรียนการสอนเพราะเมื่อไรเห็นผู้เรียนอ่อนในเนื้อหาใดหรือประสบการณ์ใดเป็นหน้าที่ของครูจะต้องช่วยพัฒนาและซ่อมเสริมได้ตรงจุดและจะต้องทำอยู่ตลอดเวลาการวัดและประเมินตามแนวนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นต่อการเรียนการสอนเด็กจะมีความสุขการวัดผลแบบแนวเดิมๆและใช้ข้อสอบอย่างเดียวเป็นหลักจะสร้างความหวาดวิตกกังวลให้แก่ผู้เรียนและผู้เรียนจะไม่มีความสุขแต่อย่างไรการเรียนการสอนก็กลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อไม่น่าสนใจ
เครื่องมือการประเมินผลตามสภาพจริง
การประเมินผลตามสภาพจริงที่มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนกับแผนการประเมินนั้นครูจะประเมินโดยเน้น“ 4P” คือการแสดงออก (performance) กระบวนการ (process) ผลผลิต (Products) และแฟ้มสะสมงาน (Parttility) โดยการประเมินควบคู่กันดังนี้ (นวรัตน์สมนาม, 2546 หน้า 193 195)
1. การประเมินการแสดงออก (Performance) การประเมินการแสดงออกครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเมื่อครูอยู่ท่ามกลางกลุ่มนักเรียนโดยครูเล่านิทานหรือนักเรียนทำงานและกิจกรรมต่างๆครูจะสังเกตสีหน้าท่าทางการพูดโต้ตอบการแสดงออกที่สนุกสนานเพลิดเพลินรวมทั้งแสดงออกในการพูดโต้ตอบพัฒนาการทางด้านภาษาความเข้าใจเรื่องราวในเรื่องที่เรียนเป็นต้นสำหรับการประเมินกระบวนการ (process) ซึ่งจะต้องสังเกตควบคู่กับการโดยครูสังเกตการเคลื่อนไหวกิริยาท่าทางความร่วมมือความคล่องแคล่วความอดทนการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆในระหว่างการเรียนการปฏิบัติงานรวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่เป็นต้น
2. การประเมินกระบวนการและผลผลิต (Process and Products) การประเมินผลผลิตนักเรียนจะเป็นสื่อกลางให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน "อมูลที่สำคัญที่เกิดจากการสำรวจค้นคว้าทดลองและโครงงานต่างๆจุดเน้นของการประเมินสภาพจริงตัวอย่างการผลิตเช่นการจัดนิทรรศการแผนภาพแผนภูมิเกมต่างไม่พิจารณาเฉพาะผลผลิตเท่านั้นแต่จะเน้นที่กระบวนการที่มีต่อผลผลิตด้วยตัวอย่าแผนงานโครงงานรายชื่อหนังสือที่อ่านผลการสาธิตการจัดนิทรรศการแผนภาพโครงงานกลุ่ม เป็นต้น
การประเมินแฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment)
 เป็นวิธีการประเมินที่เน้นประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในการประเมินการแสดงออกกระบวนผลผลิตหมายถึงการประเมินความสำเร็จของนักเรียนจากผลงานที่เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุดหรือผลงานที่เราถึงความสนใจความสามารถทักษะเจตคติและพัฒนาการของนักเรียนที่ได้เรียนรู้มาช่วงระยะหนึ่ง 3 แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนจึงควรทำความรู้จักกับแฟ้มสะสมงานในรายละเอียดดังนี้
3. 1 ความหมายของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานสิ่งที่เก็บรวบรวมผลงานหรือตัวอย่างของผลงานหรือหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ความสามารถความพยายามหรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นสำคัญที่ต้องจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ
3.2 ลักษณะเด่นของการประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน
การประเมินโดยแฟ้มสะสมงานมีลักษณะเด่นที่สำคัญดังต่อไปนี้
3. 2. 1 เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน
3. 2. 2 พัฒนาทักษะทางวิชาการระดับสูงแก่นักเรียน
3. 2. 3 พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมเพื่อให้งานสำเร็จ
3. 2. 4 เป็นการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม
3. 2. 5 แสดงพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและนักเรียนได้ปรับปรุงงานติสอน  3. 2. 6 วัดความสามารถของนักเรียนได้หลายด้าน
3. 2. 7 เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในสภาพการเรียนประจำวันที่มีประโยชน์ต่อในสภาพชีวิตจริงศาสตร์การมีส่วนร่วมในการเรียนถ้าไม่สอนเรื่องเหล่านี้โดยตรง
3. 2. 8 นักเรียนมีความตระหนักในกระบวนการและยุทธศาสตร์การมีสวนการแก้ปัญหาการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการเก็บรวบรวมข้อมูลในการสอนปกติถ้าไม่สอนเรื่องแล้วนักเรียนจะมีโอกาสเรียนรู้เรื่องนี้ได้น้อยมาก
3. 2. 9 นักเรียนได้มีโอกาสในการแสดงสร้างสรรค์ผลิตหรือทำงานด้วย
             3. 3 ประเภทของแฟ้มสะสมงานแฟ้มสะสมงานสามารถรวบรวมเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 4 ประเภทดังนี้
3. 3. 1 แฟ้มสะสมงานส่วนบุคคลเป็นแฟ้มที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเจ้าของแฟ้มเช่นรถพิเศษกีฬางานอดิเรกสัตว์เลี้ยงการท่องเที่ยวและการร่วมกิจกรรมชุมชนเป็นต้น
 3. 3. 2 แฟ้มสะสมงานวิชาชีพเป็นแฟ้มที่แสดงผลงานเกี่ยวกับอาชีพเช่นแฟ้มสะสมงานรสมัครงานแฟ้มสะสมงานเพื่อเสนอขอเลื่อนระดับเป็นต้น
3. 3. 3 แฟ้มสะสมงานวิชาการหรือแฟ้มที่แสดงผลงานเกี่ยวกับอาชีพเช่นแฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ในการสมัครงานแฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประเมินผลการผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประกอบการประเมินผลปลายภาคและปลายปีเป็นต้น
3. 3. 4 แฟ้มสะสมงานสำหรับโครงการมีลักษณะคล้ายภาพยนตร์สารคดีโดยเป็นแฟ้มที่แสดงถึงความพยายามหรือขั้นตอนการทำงานในโครงการหนึ่งๆหรือในการศึกษาส่วนบุคคลเช่นแฟ้มโครงการอาหารกลางวันในแฟ้มจะประกอบด้วยเอกสารโครงการหลักฐานที่แสดงถึงร่องรอยของการปฏิบัติงานและผลงานเป็นต้น
3. 4 องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานเป็นการเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนมีองค์ประกอบสำคัญของแฟ้มสะสมงานไว้ดังนี้
3. 4. 1 จุดมุ่งหมายกำหนดขึ้นเพื่อใช้ตัดสินว่าแฟ้มสะสมงานจะใช้อธิบายหรือจัดอะไรจุดมุ่งหมายเป็นกิจกรรมแรกที่สำคัญในการจัดทำแฟ้มสะสมงานจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนทำงานมากเกินความจำเป็นแฟ้มสะสมงานมีความหมายมากกว่าการรวบรวมกระดาษบรรจุลงแฟ้มหรือรวบรวมความจำเขียนลงในสมุดแต่หลักฐานแต่ละชิ้นในแฟ้มสะสมงานจะต้องสร้างสรรค์และจัดระบบความที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญหรือความก้าวหน้าตามจุดประสงค์จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนช่วยให้นักเรียนเข้าใจและสามารถเชื่อมจุดหมายเหล่านี้เข้ากับการสอนในแต่ละวันของครู
3. 4. 2 หลักฐานหรือชิ้นงานประกอบด้วยหลักฐานและแนวทางต่างๆที่นักเรียนเลือกเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการบรรลุจุดประสงค์การสร้างการรวบรวมเอกสาร
3. 4. 2. 1 เอกสารประเภทการบ้านแบบฝึกหัดรายงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานวิชาการในห้องเรียน
3. 4. 2. 2 เอกสารที่แสดงถึงงานที่นักเรียนทำนอกห้องเรียนเช่นโครงการพิเศษการสัมภาษณ์
3. 4. 2. 3 เอกสารที่ครูและคนอื่นๆใช้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการของนเรียนเช่นบันทึกการสังเกตที่ครูบันทึกระหว่างที่นักเรียนนำเสนอหน้าชั้นใช้เป็นหลักฐานแสดงความก้าวหน้าในการเรียนเกี่ยวกับการพูดหน้าชั้นบันทึกของผู้เรียนเพื่อนนักเรียนผู้ปกครองการสอนในลักษณะต่างๆ
3. 4. 2. 4 เอกสารที่นักเรียนเตรียมขึ้นเฉพาะบรรจุลงในแฟ้มผลงานซึ่งประตจุดมุ่งหมายข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถตามจุดมุ่งหมายและหัวข้อ
      3. 4. 3 การประเมินตนเองเป็นการให้นักเรียนประเมินแฟ้มสะสมงานของเป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ด้วยกระบวนการต่อไปนี้
3. 4. 3. 1 กำหนดองค์ประกอบและเกณฑ์ในการตรวจสอบผลงานโดยครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดเกณฑ์อาจอยู่ในรูปของดัชนีคะแนนหรือคุณลักษณะที่สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับนักเรียนได้
3. 4. 3. 2 สร้างเครื่องมือเพื่อให้การตรวจสอบผลงานตามองค์ประกอบเช่นแบบสำรวจรายการบันทึกรายการเรียนรู้เป็นต้น
3. 4. 4 เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อชิ้นงานแต่ละชิ้นที่บรรจุในแฟ้มสะสมงานรวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์และการให้คะแนนชิ้นงานซึ่งทำให้แฟ้มสะสมงานมีชีวิตชีวาและช่วยให้นักเรียนพิษบเรานการเรียนรู้ของตนเองซึ่งเป็นการใช้ความคิดในขั้นสูง        
3. 4. 5 การประเมินแฟ้มสะสมงานเป็นการประเมินความพอดีระหว่างความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนกับศักยภาพของผู้เรียน
       3. 5 ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงานแฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการแสดงผลงานของผู้เรียนที่สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริงแฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ต่อผู้สอนดังนี้
3. 5. 1 ใช้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3. 5. 2 ทำหน้าที่ในการสะท้อนความสามารถรวมออกมาเป็นผลงานชิ้นสุดท้าย 10 "หน้าที่ในการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานของนักเรียนได้ทุกขั้นตอน
3. 5. 3 แฟ้มสะสมงานจะทำให้ครูสามารถหาจุดเด่นของนักเรียนได้มากกว่าจุดด้อย แต่นักเรียนสามารถเลือกตัดสินใจว่าชิ้นงานที่ดีที่สุดของตนในการประเมินดังนั้นนักเรียนมีความสุขในการแฟ้มสะสมงานของตนมากกว่า
3. 5. 4 ทำหน้าที่สำคัญในการแจ้งผลสำเร็จของนักเรียนให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ 3 สามารถนำไปใช้ในการอภิปรายความก้าวหน้าของนักเรียนกับผู้ปกครองได้การประเมินจากแฟ้มสะมีลักษณะเปิดเผยตรงไปตรงมาซึ่งต่างจากการใช้แบบทดสอบที่ครต้องปกปิดเป็นความลับอยู่เสมอ
3. 5. 5 การเก็บสะสมงานงานทุกชิ้นที่พิจารณาคัดเลือกไว้ต้องเขียนชีย 2 แปะติดไว้ให้สามารถประเมินความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของนักเรียนกเพิ่มสะสมงานก็ไว้ต้องเขียนชื่อวันเดือนปี
3. 6 กระบวนการท่าแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานจะเป็นแฟ้มสะสมงานที่สมบูรณ์มีค่าเมื่อมีการจัดกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันในการทำแฟ้มสะสมงานมีกระบวนการที่จำเป็น 10 ขั้นตอน
3. 6. 1 ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์และประเภทของแฟ้มสะสมงานการกำหนดวัตถุประสงค์และประเภทของแฟ้มสะสมงานจะเป็นตัวตอบคำถามว่าทำไมจึงต้องนำนักเรียนมาเกี่ยวข้องกับการรวบรวมงานที่เขาสร้างขึ้นแฟ้มสะสมงานจะถูกนำไปใช้อย่างไรมีจุดประสงค์ที่แท้จริงอย่างไรการประเมินผลใช้วิธีการใดซึ่งในการกำหนดจุดประสงค์ของแฟ้มสะสมงานต้องยึดหลักแห่งความรู้กระบวนการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมและประเมินตนเองได้ตลอดระยะเวลาที่กำหนดเป็นการช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถสะท้อนความสามารถในการคิดและนักเรียนยังสามารถกำกับดูแลและชื่นชมความก้าวหน้ากับพัฒนาการของตนเอง
3. 6. 2 ขั้นรวบรวมชิ้นงานและจัดการชิ้นงานในขั้นนี้ครูจะต้องวางแผนร่วมกับนักเรียนว่าจะเก็บรวบรวมชิ้นงานอย่างไรออกแบบเครื่องมือและวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนได้จัดระบบกับชิ้นงานของเขาชิ้นงานมี 2 ชนิดคืองานแกนที่ทุกคนต้องทำครูอาจจะต้องมีแนวทางให้และเลือกงานที่นักเรียนสามรถใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ตามความสนใจ
3. 6. 3 ขั้นเลือกชิ้นงานการรวบรวมชิ้นงานจะมีจำนวนมากพอที่จะนำมาพิจารณาคัดเลือกชิ้นงานเพื่อลดจำนวนชิ้นงานลงเป็นการตัดสินใจเชิงวิชาการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของชิ้นงานของนักเรียนจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบอาจมีหลักในการพิจารณาคัดเลือกชิ้นงานดังนี้คืองานชิ้นใดควรเลือกอย่างไรใครเป็นผู้เลือกหรือควรเลือกเมื่อใดและเก็บชิ้นงานที่ดีที่สุดไว้ 2-5 ชิ้นต่อ 1 ภาคเรียน
3. 6. 4 ขั้นสร้างสรรค์ผลงานในขั้นนี้เป็นการถ่ายทอดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานให้ประจักษ์ถึงความสามารถของผู้เรียนในการตกแต่งประดิษฐ์แฟ้มงานทั้งมีความสวยงามและมีผลงานที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบและสวยงามซึ่งสิ่งนี้จะแสดงความคิดสร้างสรรค์และบุคลิกภาพของผู้เรียน
3. 6. 5 ขั้นการสะท้อนข้อมูลกลับเป็นการให้นักเรียนสะท้อนความรู้สึกนึกคิดหรือความคิดเห็นต่อชิ้นงานที่เลือกไว้ในแฟ้มสะสมงานในกระบวนการสะท้อนข้อมูลกลับจะเกี่ยวข้องกับการทำงานตั้งแต่ขั้นการวางแผนการติดตามและการประเมินผลงานวิธีการสะท้อนข้อมูลกลับเกี่ยวกับชิ้นงานโดยใช้สัญลักษณ์แสดงไว้ในชิ้นงานแต่ละขั้นหรือการให้คำวิพากษ์วิจารณ์รวมทั้งอาจให้คะแนนไว้บนชิ้นงานจะอธิบายถึงคุณค่าของชิ้นงานนั้นๆ
3. 6. 6 ขั้นการตรวจสอบความสามารถของตนเองในขั้นนี้นักเรียนสามารถตรวจสอบแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อประเมินตนเองและชิ้นงานของตนว่าบรรลุเป้าหมายระยะยาวระยะสั้นมากน้อยเพียงใด
สาระนักเรียนได้พบจุดอ่อนอะไรบ้างและงานในแฟ้มสะสมงานสามารถชีความก้าวหน้าในขอบข่ายในเป้าหมายหรือไม่เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นในแนวทางการทำงานของตน
3. 6. 7 ขั้นการทำงานให้สมบูรณ์และประเมินค่าผลงานการทำงานให้สมบูรณ์เพื่อให้พร้อมที่จะนำไปสู่การให้ระดับคะแนนดังนั้นการทำให้งานสมบูรณ์จะช่วยขัดเกลางานทำให้ที่ได้สมบูรณ์การให้คะแนนจะพิจารณาโดยเกณฑ์การให้คะแนนตามประเด็นการประเมิน (Rubrics) กำหนดไว้ล่วงหน้าโดยครูและนักเรียนการประเมินจะเน้นความก้าวหน้าในผลงานของนักมากกว่าการเปรียบเทียบนักเรียนกับกลุ่ม
3. 6. 8 ขั้นการเชื่อมโยงและการปรึกษาหารือการประชุมสัมมนากับแฟ้มผลงานเพื่อเป็นครูและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมตัดสินใจถึงความสำคัญต่อการวัดผลประเมินผลปฏิบัติจริงโดยใช้การประเมินแฟ้มสะสมงาน
3. 6. 9 ขั้นการทำให้ผลงานมีคุณค่าทันสมัยการพิจารณานำชิ้นงานเข้าเก็บหรือดึงชิ้นงานออกเพื่อทำให้ชิ้นงานและแฟ้มสะสมงานสมบูรณ์และทันสมัยเหมาะแก่การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักเรียนที่จะพิจารณาคุณภาพของชิ้นงานและแฟ้มสะสมงาน
3. 6. 10 ขั้นยอมรับคุณค่าที่สมบูรณ์และนำเสนอผลงานด้วยความภาคภูมิใจการจัดเสนอจะผนวกเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของแฟ้มสะสมงานเพื่อให้นักเรียนเตรียมจัดแสดงนิทรรศการด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครองโดยการกำหนดเวลาที่แน่นอนเป็นการยอมรับคุณค่าอันเป็นกระบวนการที่จะส่งเสริมกำลังใจและความสำเร็จของงานอย่างมีระบบ
       3. 7 การประคุณภาพของแฟ้มสะสมงาน
การประเมินคุณภาพของแฟ้มสะสมงานต้องกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจนที่สะท้อนความสามารถผู้เรียนได้การจัดทำเกณฑ์ในการประเมินเริ่มจากการกำหนดนิยามของทักษะหรือสมรรถภาพที่จะวัดแล้วเลือกมาตราวัดว่าจะใช้เชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพหลังจากนั้นจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจนว่าจะประเมินรวมหรือประเมินแยกเป็นรายชิ้นแต่ละสมรรถภาพที่วัดจะมีตัวชี้วัดอะไรบ้างชิ้นงานแต่ละชิ้นมีน้ำหนักคะแนนเท่าไรผลการประเมินตนเองของผู้เรียนเพื่อนครูผู้ปกครองและผู้สนใจจะให้คะแนนกำหนดมาตรคุณภาพของงานอย่างไร
กล่าวโดยสรุป แฟ้มสะสมงานเป็นทั้งเครื่องมือในการสอนของครูตรงตามสภาพจริงและยังเป็นการพัฒนาวิชาชีพครูการน้ำแฟ้มสะสมงานมาใช้จึงต้องเป็นการวิจัยของ ดำรัส สีหะวีรชาติ (2542) พบว่าการใช้แฟ้มสะสมงานในการพัฒนาการเรียนการสอได้มีโอกาสในการแสดงความสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สนใจเรียนนักเรียนมีความสุขนักเรียนรู้จักรับผิดชอบในการประเมินและตรวจสอบตนเองมากขึ้นผู้ปกครองมีการสอนนักเรียนมีความสุขในการเรียนมีความพึงพอใจที่ได้เห็นผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบในการประเมินและตรวจสอบตนเองมากขึ้นผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่ได้เห็นผู้เรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มีความภาคภูมิใจในการจัดทำแฟ้มสะสมงานของผู้เรียน
วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
การประเมินผลตามสภาพจริงจะเป็นการประเมินที่เป็นระบบเป็นกระบวนการใช้วิธีการประเมินได้หลายวิธี อาทิ
1. การสังเกต อาจจะมีหรือไม่มีเครื่องมือในการสังเกตก็ได้ซึ่งสามารถทำได้ในทุกสถานการณ์
2. การสัมภาษณ์ โดยการตั้งคำถามอย่างง่ายๆซึ่งสามารถสัมภาษณ์ได้ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
3. การบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง โดยการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนจากผู้เกี่ยวข้องทั้งทางด้านความรู้ความสามารถและการแสดงออกในลักษณะต่างๆ
4. แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) โดยการสร้างคำถามเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้หรือการสร้างความรู้ใหม่ในสถานการณ์จำลองที่คล้ายคลึงกันหรือเลียนแบบสภาพจริง
5. การรายงานตนเอง โดยการพูดหรือเขียนบรรยายความรู้สึกนึกคิดความเข้าใจความต้องการวิธีการและผลงานของผู้เรียน
6. แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) เป็นการรวบรวมผลงานไว้อย่างเป็นระบบในช่วงระยะหนึ่งเพื่อเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความเข้าใจความสามารถทักษะความสนใจความถนัดความพยายามความก้าวหน้าและความสำเร็จ
ข้อควรคำนึงถึงในการประเมินผลตามสภาพจริง
ในการประเมินตามสภาพจริงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. เป็นการประเมินที่กระทำไปพร้อมๆกับการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. เป็นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมเป็นสำคัญ (Performance-based) ซึ่งแสดงออกมาจริง
3. ให้ความสำคัญในการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4. เน้นการพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตนเอง
5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานเหตุการณ์ในชีวิตจริงเอื้อต่อการเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตจริง
6. มีการเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติในทุกบริบททั้งที่โรงเรียนบ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
7. เน้นคุณภาพของผลงานซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้านของผู้เรียน
8. เน้นการวัดความสามารถในการคิดระดับสูงเช่นการวิเคราะห์การสังเคราะห์เป็นต้น
9. ส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์เชิงบวกมีการชื่นชมส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ผู้เรียนมีความสุขสนุกสนานไม่เครียด
10. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในการประเมินผลประเมินผลการเรียน
การทดสอบและการให้เกรด (Testing and Grading)
การทดสอบ เป็นการนำข้อของคำถามที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการออกมาโดยสามารถสังเกตและวัดได้การทดสอบนี้มักจะใช้ในการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่โดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสำคัญแบบทดสอบนี้มีด้วยกันหลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกซึ่งพอจำแนกได้ดังนี้
1 จำแนกตามลักษณะการกระทำ ได้แก่
1. 1 แบบทดสอบแบบให้ลงมือทำกระทำ (Performance Test) ได้แก่ แบบทดสอบภาคปฏิบัติทั้งหลายเช่นการทดสอบวิชาพลศึกษาการทดสอบวิชาขับร้องนาฏศิลป์เป็นต้น
1. 2 แบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Paper Pencil Test) ได้แก่ การทดสอบที่ให้ผู้สอบต้องเขียนตอบในกระดาษและการใช้การเขียนเป็นเกณฑ์เช่นแบบทดสอบอัตนัยแบบทดสอบความเรียงเป็นต้น
1. 3 แบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) เป็นแบบทดสอบที่ผู้สอบต้องตอบด้วยวาจาแทนการเขียนตอบหรือการปฏิบัติหรือการปฏิบัติเป็นการเรียกมาซักถามกันตัวต่อตัวเหมือนกับการสอบสัมภาษณ์แต่เป็นการซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระมากกว่าการสอบสัมภาษณ์ปกติ
      2 จำแนกตามสมรรถภาพที่ใช้วัด ได้แก่
2. 1 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาการที่ได้จากการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
2. 1. 1 แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างเอง (Teach-made Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเฉพาะครั้งคราวเพื่อใช้ทดสอบความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียนในห้องเรียนบางครั้งอาจเรียกว่าแบบทดสอบชั้นเรียน (Classroom Test) แบบทดสอบชนิดนี้เมื่อสอบเสร็จแล้วมักไม่ใช้อีกและถ้าต้องการสอบใหม่ก็จะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเก่ามาใช้ใหม่อีกครั้ง
2. 1. 2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างกระบวนการพัฒนาจนมีคุณภาพได้มาตรฐาน
2. 2 แบบทดสอบความถนัด (Attitude Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถ
ทาง (Mental Ability) ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆใช้สำหรับทำนายสมรรถภาพทางสมอง2เรียนไปได้ไกลเพียงไรหรือมีความถนัดไปในทางใด
2.3 แบบทดสอบบุคลิกภาพและสถานภาพทางสังคม (Personal Social Test) เป็นแบบทดสอบเพของคนเช่นเจตคติความสนใจนิสัยค่านิยมความเชื่อการปรับตัวสถานภาพทางสังคมใช้วัดบุคลิกภาพของคนเช่นเจตคติคาวาและสถานภาพทางอารมณ์เป็นต้น
3. จำแนกตามลักษณะการตอบ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
3. 1 แบบทดสอบความเรียง (Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบหาคำตอบและเรียบเรียงคำตอบขึ้นเองผู้ตอบสามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
3. 2 แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งให้ผู้ตอบตอบเพียงสั้นๆหรือเลือกคำตอบจากที่กำหนดไว้
แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายและความสามารถในการวัดต่างกันดังนั้นการนำแบบทดสอบไปใช้จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายที่นำไปใช้แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นเองโดยจำแนกตามลักษณะการตอบเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test)
2. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test)
รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละประเภทมีดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้คำตอบโดยไม่มีขอบเขตของคำตอบที่แน่นอนไว้การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียงทำตอบอย่างอิสระตามความรู้ข้อเท็จจริงตามความคิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่โดยไม่มีขอบเขตจำกัดแน่นอนตายตัวที่เด่นชัดนอกจากกำหนดด้วยเวลาการตรวจให้คะแนนไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวส่วนมากมักขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสำคัญแบบทดสอบนี้ยังแบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้
1. 1 แบบทดสอบจำกัดคำตอบซึ่งจะถามแบบเฉพาะเจาะจงแล้วต้องการคำตอบเฉพาะเรื่องผู้ตอบต้องจัดเรียงลำดับความคิดให้เป็นระเบียบเพื่อให้ตรงประเด็นดังนั้นผู้ออกข้อสอบจึงต้องระมัดระวังในเรื่องคำสั่งของโจทย์ขอบเขตเนื้อหาเวลาในการเขียนตอบและความสะดวกในการให้คะแนนได้มากกว่าแบบไม่จำกัดคำตอบเพราะแบบทดสอบแบบนี้จะมีเกณฑ์ต่างๆที่จะตัดสินคะแนนให้ยุติธรรมมากกว่าแบบไม่จำกัดคำตอบนอกจากนี้แบบทดสอบแบบอัตนัยประเภทจำกัดคำตอบนี้ยังตรวจได้ง่ายเพราะคำตอบที่ถูกอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้เมื่อมีผู้เข้าสอบเป็นจำนวนมากและต้องการดูความสามารถในการเขียนของผู้ตอบด้วยตัวอย่างเช่น
•จงเปรียบเทียบลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปคการมาอย่างละ 3 ข้อ
•จงบรรยายขั้นตอนการทำน้ำให้สะอาดให้ครบทุกขั้นตอน ฯลฯ
1.2 แบบทดสอบแบบไม่จำกัดคำตอบหรือแบบขยายความแบบทดสอบแบบนี้จะถามอความสามารถต่างๆโดยให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระซึ่งจะสามารถวัดสมรรถภาพทางความริเริ่มสร้างสรรค์เจตคติการประเมินค่าได้อย่างกว้างขวางปริมาณและคุณภาพของคำตอบจึงขึ้นอยู่กับคำถามและความรู้ที่สะสมไว้ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใดการกำหนดเวลาในการเขียนตอบจึงต้องกำหนดให้เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการทราบแบบทดสอบแบบนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการรวบรวมความคิดการประเมินค่าและการใช้วิธีการต่างๆในการแก้ปัญหาซึ่งแบบทดสอบแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่การให้คะแนนเพราะเป็นการยากที่จะหาเกณฑ์ในการให้คะแนนได้ถูกต้องและชัดเจนเนื่องจากผู้ตอบมีอิสระในการคิดและเขียนโดยเสรีตัวอย่างเช่น
•จงเสนอโครงการในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีบุคลิกภาพที่ดีตามความคิดเห็นของท่าน
•พุทธศาสนาจะช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างรยังอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ ฯลฯ
2. แบบทดสอบแบบปรนัย แบบทดสอบแบบนี้จะกำหนดคำถามและคำตอบไว้ให้โดยผู้ตอบจะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคำตอบแบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบจะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิดส่วนการตอบใช้เวลาน้อยการตรวจทำได้ง่ายใช้ใครศรวจกเคและสามารถใช้เครื่องสมองกลช่วยตรวจให้ได้เพราะผลที่ได้จากการตรวจจะไม่แตกต่างกันเลยแบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีทั้งให้ผู้ตอบเขียนคำตอบเองกับเลือกคำตอบที่กำหนดให้โดยมีรายละเอียดดังนี้
2. 1 แบบทดสอบเขียนคำตอบ ได้แก่
2.1.1 แบบทดสอบแบบตอบสันเป็นข้อสอบที่ผู้ตอบจะต้องหาคำตอบเองแต่เมนสั้น ๆ เหมาะสำหรับใช้วัดความรู้ความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ข้อเท็จจริงหลักการและหลักเกณฑ์ต่างๆให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆที่ผ่านมาตัวอย่างเช่น
•ยานอวกาศลำแรกที่ลงบนดวงจันทร์ (ยานอพอลโล่ 11)
6 +9 จะได้คำตอบเท่าไร (15)
•ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่าอะไร (ป่าดงดิบ) ฯลฯ
2. 1. 2 แบบทดสอบแบบเติมคำมีลักษณะคุณสมบัติและการใช้คำเหมือนกันต่างกันที่การถามแบบเติมคำจะเว้นช่องว่างไว้ให้เติมคำตอบตัวคำถามจะเป็นประโยคไม่สมตอบสั้นจะเป็นประโยคสมบูรณ์ตัวอย่างเช่น
•ยานอวกาศลำแรกที่ลงบนดวงจันทร์…………………………… (ยานอพอลโล่ 11)
6 +9 =………………………………….จะได้คำตอบเท่าไร (15)
•ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่า………………………. (ป่าดงดิบ)
            2.2 ข้อสอบแบบเลือกคำตอบ ได้แก่
2. 2. 1 ข้อสอบแบบถูก-ผิดเป็นข้อสอบที่กำหนดให้ผู้ตอบเลือกคำตอบว่าข้อความที่กำหนดให้นั้นถูกหรือผิดเท่านั้นข้อสอบแบบนี้เหมาะสำหรับวัดผลการเรียนรู้ระดับความรู้ความจำลักษณะเช่นเดียวกับแบบตอบสั้นคือสร้างความง่ายผู้ตอบเสียเวลาตอบน้อยวัดเนื้อหาได้มากมักมีค่าความเที่ยงสูงแต่เปิดโอกาสให้เดาได้มากตัวอย่างเช่น
•ลายเสือไทถือว่าเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม
•ตำบลเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด
•ผิวพื้นที่ขรุขระจะมีแรงเสียดทานน้อยกว่าผิวพื้นที่เรียบ ฯลฯ
2. 2. 2 ข้อสอบแบบจับคู่เป็นข้อสอบให้เลือกจับคู่ระหว่างคำหรือข้อความสองแถวให้คำหรือข้อความทั้งสองนั้นสอดคล้องกันโดยมากมักจะใช้ข้อความว่ามีความหมายตรงกันข้อสอบชนิดนี้เหมาะสำหรับวัดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงคำศัพท์หลักการความสัมพันธ์และการตีความในเรื่องเดียวกันตัวอย่างเช่น
……………………… ก. ไม้กระดานที่พาดเอียงกับขอบรถ                   1. ขวาน
……………………….ข. เครื่องผ่อนแรงที่ใช้ยกรถ                               2. คานดีดคานงัด
………………………..ค. เครื่องมือผ่อนแรงในการตัดต้นไม้                  3. แม่แรง
…………………………ง. เครื่องมือผ่อนแรงในการยกของพื้นที่สูง       4. รอก
             •…………………………จ. ไม้กระดานกระดก                                         5. พื้นลาดพื้นเอียง
 2. 2. 3 แบบทดสอบแบบเลือกตอบเป็นข้อสอบที่บังคับให้ผู้ตอบเลือกคำตอบจากที่กำหนดให้ปกติจะมีคำตอบให้เลือกตั้งแต่ 3 ตัวเลือกขึ้นไปแต่มักไม่เกิน 6 ตัวเลือกข้อสอบชนิดนี้นิยมใช้กันทั่วไปใช้วัดผลการเรียนรู้ได้เกือบทุกระดับแม้จะสร้างความยากต้องเสียเวลาสร้างมากแต่คุ้มกับแรงงานและเวลาที่เสียไปเพราะสามารถเก็บไว้ใช้ได้ต่อไปตัวอย่างเช่น
What color is the tree?
a. Pink          b. Purple        c. Green
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระนามเดิมว่าอย่างไร
ก. พ่อขุนบางกลางหาว                             ข. พ่อขุนศรีนาวนำถม
ค. พ่อขุนผาเมือง                         ง. พ่อขุนบานเมือง
กล่าวโดยสรุปแล้วแบบทดสอบหรือข้อสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการแบบทดสอบแบบอัตนัยหรือความเรียงและแบบทดสอบแบบปรนัยต่างมีข้อดีและข้อจำกัดด้วยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นำไปใช้ตามตารางที่ 23 ดังนี้ 
ตารางที่ 23 ข้อดีและข้อจำกัดของแบบทดสอบแบบอัตนัยหรือความเรียงและแบบทดสอบแบบปรนัย
แบบทดสอบแบบอัตนัยแบบความเรียง
แบบทดสอบแบบปรนัย
1.       ผู้สอบมีจำนวนไม่มากนัก
2.       ต้องการสอบวัดความสามารถที่ซับซ้อน
3.       ต้องการส่งเสริมทักษะเชิงความคิดและการแสดงออก
4.        ผู้สอบต้องมีความสามารถในการเขียนและทักษะนอกจากผลสัมฤทธิ์ทางภาษาที่ดี
5.       ต้องการวัดทักษะและความรู้สึกนึกคิดอื่นด้วย
6.       มีเวลาออกข้อสอบน้อยแต่มีเวลาตรวจข้อสอบมาก
1.       ผู้สอบมีจำนวนมากๆ
2.       ต้องการนำข้อสอบไปวิเคราะห์และเก็บไว้ใช้อีก
3.       ต้องการสอบวัดรายละเอียดเนื้อหาย่อยๆ
4.       ไม่ต้องการวัดทักษะและความรู้สึกนึกคิดอื่นนอกจากวัดผลสัมฤทธิ์
5.       มีเวลาออกข้อสอบมากและต้องการผลสยบเร็ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น